นวัตกรรม : GenZ และ C.Y.D.O.T. กับการจัดการเชิงรุก ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่แอลกอฮอล์และยาเสพติด
- 29 มี.ค. 2566 เวลา 16:27 น.
- 1,833
- Tweet
Innovation : GenZ and C.Y.D.O.T. with Proactive Management in the prevention and correction of cigarette problems Alcohol and drungs.
ผู้ดำเนินการ : นายมิตรสัน ด้วงธรรม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเพชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์
1. ความเป็นมาและความสำคัญของนวัตกรรม
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่งในปัจจุบัน ทุกวันนี้ประเทศไทยจะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ รวมทั้งทรัพยากรในด้านอื่น ๆ มาช่วยกัน เพื่อการนี้ รัฐบาลได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางทั้งภายในและภายนอกประเทศ ร่วมมือกับนานาชาติ ด้วยความตระหนักดีว่า ปัญหายาเสพติดอาจมีส่วนชักนำให้เกิดปัญหาสังคมหมุนเวียน อาทิเช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาโสเภณี ซ่องโจรและการพนัน เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่กล่าวมามีความกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตลอดจนถึงด้านเศรษฐกิจด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยาเสพติดก็ยังคงระบาดในหมู่เยาวชนหรือเด็กวัยรุ่น มิได้บรรเทาเบาบางลงไป ดูเหมือนว่าจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ ยิ่งนานวันปัญหาเหล่านี้ก็ยิ่งทับถมและเรื้อรัง เป็นสิ่งที่ยากต่อการแก้ไขเป็นทวีคูณ มาตรการทางกฎหมายที่ใช้สกัดกั้นยาเสพติดเป็นมาตรการที่สำคัญมาในอันที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเยาเสพติด เพราะการดำเนินการจะต้องมีระเบียบ แบบแผน และหลักเกณฑ์ที่แน่นอน สิ่งเหล่านี้ย่อมได้มาจากมาตรการางกฎหมายที่วางไว้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า มาตรการทางกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการจะปราบปรามป้องกันหรือการบำบัดรักษาผู้เสพติด มิฉะนั้น การแก้ไขปัญหาจะต้องประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การกำหนดมาตรการางกฎหมายที่ดี จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้านนับตั้งแต่ การทำความรู้จักเกี่ยวกับยาเสพติด ประเภทของยาเสพติด ลักษณะและโทษของยาเสพติด สาเหตุที่ทำให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งภายในและต่างประเทศ การวิวัฒนาการของกฎหมายที่มีมาในอดีต การศึกษาองค์ประกอบหลายด้าน จะทำให้ได้มาตรการางกฎหมายที่สอดคล้องกับปัญหาตามสภาพเท็จจริงที่เกิดขึ้น กฎหมายยาเสพติดของประเทศไทย เริ่มมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน กฎหมายยาเสพติดที่ยังคงมีผลบังคับใช้ คือ (1) พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 (2) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 (3) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 (4) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 (5) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 (6) พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2560 (7) พระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๖๐ แต่มาตรการทางกฎหมายที่กระจายอยู่ในบทบัญญัติของกฎหมายแต่ละฉบับที่กล่าวมาทั้ง 7 ฉบับนี้ ยังไม่อาจกล่าวได้ว่า เป็นมาตรการทางกฎหมายที่จะหยิบยกมาแก้ไขปัญหายาเสพติดในปัจจุบันให้หมดสิ้นไปได้ ด้วยสาเหตุที่ว่า (1) พระราชบัญญัติบางฉบับมีมาตรการทางกฎหมายล้าสมัย ไม่เหมาะสมกับปัญหาในขณะนี้ (2) มาตรการบางประการ ก็สมควรที่จะยกเลิกได้แล้ว เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ (3) การที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทำให้ต้องบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องกับภาคีสมาชิก มาตรการทางกฎหมายบางอย่างไม่อาจนำมาแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผล (4) พระราชบัญญัติบางฉบับมิได้เอื้ออำนวยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการได้โดยสะดวก เนื่องจากไม่ได้ให้อำนาจอย่างเพียงพอ หรือโดยแจ้งชัดดังนั้น การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหายาเสพติดในแง่กฎหมายต้องค้นหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม นำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่กล่าวมาแล้ว การดำเนินการวิจัยได้ แบ่งเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยสนาม (Filed Research) เป็นการสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาบุหรี่ แอลกอฮอลล์และยาเสพติด และนำมาสรุปเพื่อให้ได้มาตรการทางกฎหมายที่ดีตามวัตถุประสงค์
ในสภาพสังคมปัจจุบัน พบว่ากลุ่มเด็กหรือเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 14–18 ปี ที่กำลังอยู่ในวัยศึกษาหรือวัยเรียน ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน จะอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ซึ่งเป็นวัยแห่งการทดลองและต้องการหาเอกลักษณ์ของตนเอง จนอาจนำไปสู่การเป็นผู้ใช้บุหรี่ แอลกอฮอล์และสารเสพติดและกลายเป็นผู้ติดสารเสพติดทำให้ร่างกายทรุดโทรม เกิดโรคแทรกซ้อน ซึมเศร้า กังวล ฟุ้งซ่าน ขาดความสุข มีนงง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง อ่อนแอ เกียจคร้าน ไม่รับผิดชอบต่อตนเอง การเรียน และครอบครัว พูดจากเชื่อถือไม่ได้ หลอกลวง จะกระทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสารเสพติด มีความประพฤติไม่อยู่ในกรอบของสังคม เป็นภาระต้องให้เลี้ยงดู เพราะไม้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ เป็นการทำลายชื่อเสียงของตนเอง วงศ์ตระกูล ครอบครัวแตกแยก เป็นการลดคุณค่าของชีวิต ทำให้วัฒนธรรมเสื่อม ก่อให้เกิดอาชญากรรมต่าง ๆ อาทิเช่น ทำร้ายร่างกาย แย่งชิงทรัพย์สินเงินทอง ลักขโมย ต้องสูญเสียเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติ ทำให้ผลผลิตต่ำลง เสียกำลังคน กำลังเงินของรัฐที่ต้องเสียงบประมาณมาใช้จ่ายในการควบคุม ปราบปราม บำบัดรักษา (ศรีสมบัติ วานิช และฉวีวรรณ สัตยธรรม. 2540 : 309 – 310) ทำให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์และสำนักงานคุมประพฤติ นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูงและ ทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า (ชนะวงศ์ บุตรคาน. 2560 : website) ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน เนื่องจากสภาพความอ่อนแอของสังคม จริยธรรม ครอบครัว ขาดความอบอุ่น เด็กและเยาวชนถูกทอดทิ้งสูงขึ้น
ภัยอันน่ากลัวของยาเสพติดได้ขยายตัวลุกลามเข้าไป ในรั้วโรงเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกที จนเป็นที่น่าหวั่นเกรงว่า หากไม่ดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน อาจสายเกินไปสำหรับเยาวชนและกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ในการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา โดยได้แบ่งการแนวทางการดำเนินงานออกเป็นกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ดังนี้ (1) กลุ่มนักเรียนที่ไม่เคยใช้หรือไม่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นการดำเนินงานป้องกันยาเสพติด แก่กลุ่มนักเรียนที่ไม่มีประสบการณ์ ในการใช้ยาเสพติดเป็นการดำเนินการในด้านการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในระยะยาว โดยมีมาตรการดำเนินงานต่างๆ อาทิเช่น การให้ความรู้หรือผนวกเนื้อหาเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าไว้ ในวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การจัดนิทรรศการ การจัดเสียงตามสายในโรงเรียน การจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในโรงเรียน การฝึกทักษะชีวิตเพื่อให้รู้จักปฏิเสธยา เสพติด การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อน (2) กลุ่มนักเรียนที่มีประสบการณ์ในการใช้ หรือเริ่มทดลองใช้ยาเสพติดบางชนิด แต่ยังไม่ถึงขั้นเสพติดการดำเนินงานในกลุ่มนี้เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการก่อนที่นักเรียนจะใช้ยาเสพติดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งการหยุดพฤติกรรมดังกล่าวควรให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน ดังนี้ จัดให้มีมุมบริการปรึกษาแนะแนวหรือให้การปรึกษาปัญหาต่างๆ แก่นักเรียนที่มีปัญหา ใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อนเพื่อปรับพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสม จัดค่ายกิจกรรมในโรงเรียนโดยมีครูอาจารย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ประสานงานกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดเพื่อร่วมกันแก่ไขปัญหา (3) กลุ่มนักเรียนที่ติดยาเสพติดกลุ่มนี้โรงเรียนควรประสานให้ผู้ปกครองส่งตัวเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ ปกครองและตัวเด็กเอง ให้เข้ารับการบำบัดรักษาด้วยความสมัครใจ ซึ่งเมื่อรักษาหายแล้วเด็กสามารถที่จะกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติกลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมค้ายาเสพติดสำหรับกลุ่มนี้ ทางโรงเรียนควรประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการปราบปราม ก่อนที่การแพร่ระบาดจะขยายตัวมากขึ้น หากเป็นนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสพด้วยและค้าด้วย ควรประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบำบัดรักษาและดำเนินการไปตามกฎหมาย
สถานศึกษายังเป็นจุดที่เสี่ยงของเด็กเยาวชนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องตกเป็นทาสยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่สังคมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ นั้นอยู่ในวัยเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต มีสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์สูง มีความคิดแปรปรวน ไม่เชื่อมั่นในตนเอง เป็นเหตุให้ถูกหลอกลวงและซักจูงได้ง่าย ประกอบกับชอบเรียนแบบ ทดลองในสิ่งแปลกใหม่ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ ทำให้ประสบปัญหามากมาย อาทิเช่น ปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาความรุนแรง ปัญหายาเสพติด จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยมีความต้องการที่จะศึกษาและเพื่อสร้างนวัตกรรม เรื่อง ศอ.ปส.ย. กับการจัดการเชิงรุก ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่ แอลกอฮอล์และยาเสพติด (Innovation : C.Y.D.O.T. with proactive management In the prevention and correction of cigarette problems Alcohol and drugs.)
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
นวัตกรรม เรื่อง “GenZ และ C.Y.D.O.T. กับการจัดการเชิงรุก ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่แอลกอฮอล์และยาเสพติด” Innovation : GenZ and C.Y.D.O.T. with Proactive Management in the prevention and correction of cigarette problems Alcohol and drungs. เป็นการศึกษาวิจัยในโรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ โดยผู้คิดค้นนวัตกรรมมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติด
2. เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติด