การพัฒนาการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education
- 21 มิ.ย. 2561 เวลา 14:54 น.
- 3,763
- Tweet
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education
The learning development of Information and Communication Technology for Grade Students using Social Network Google Apps for Education Through Technology
ชื่อผู้วิจัย : สมคิด บุญสิงห์ ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 โทรศัพท์ : 092 258 6462 , E-mail :somkidb@pks.ac.th
ประเภท : การวิจัยและพัฒนา
ปีที่ทำการวิจัย 2558 - 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education จัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยมีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนและบริบทของโรงเรียนเพชรพิทยาคม ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาการเรียนรู้ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps for Education และขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเพชรพิทยาคม
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์(Social network) ในการจัดการเรียนการสอน ได้รูปแบบการเรียนการสอนโดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1) องค์ประกอบของทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่าย 2) องค์ประกอบของกลุ่มเรียนรู้บนเครือข่าย 3) องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ และ4) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย
2. ผลการพัฒนาการเรียนรู้ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education
การพัฒนาการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Educationองค์ประกอบของรูปแบบของการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ตามกรอบวิธีการเชิงระบบ(System Approach) ของ ADDIE Model ได้แก่ ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นการออกแบบ (Design) ขั้นการพัฒนา (Development) ขั้นการนำไปใช้ (Implementation) และขั้นการประเมินผล (Evaluation) และใช้กระบวนการวิจัยการพัฒนา (Development) เป็นขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม ตามวงจร PAOR ซึ่งมี 4 ขั้นตอนคือ (1) การวางแผนหลังจากที่วิเคราะห์และกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข (Plan) (2) การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด (Act) (3) การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (Observe) (4) การสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานต่อไป (Reflect)
วงรอบที่ 1 นักเรียนที่เข้าร่วมประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 104 คน ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2558 ทำความเข้าใจ ชี้แจง และทำข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมงาน/ภาระงานที่นักเรียนจะต้องปฏิบัติในระหว่างการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education นักเรียนมี. e-mail address ของตนเอง คือ stdเลขประจำตัวนักเรียน@pks.ac.th เช่นstd34523@pks.ac.th เมื่อดำเนินการให้ความรู้พร้อมกับการปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ Google Drive (ไดรฟ์) สำหรับใช้เป็น พื้นที่จัดเก็บข้อมูล เป็นส่วนตัว บน Cloud ,Google Docs (เอกสาร) ใช้ในลักษณะแบบเดียวกับ Microsoft Word แต่ใช้งานเอกสารได้ในเวลาเดียวกัน Google Slides (สไลด์) ใช้ในลักษณะแบบเดียวกับ Microsoft Power point แต่ใช้งาน เอกสารได้ในเวลาเดียวกัน Google Classroom (ห้องเรียนออนไลน์) ใช้สำหรับการจัดการห้องเรียน,สั่ง งาน,ส่งงาน, นำเสนอสื่อ,ทำ แบบทดสอบ คือเป็นบท เรียนออนไลน์ (Elernning) เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้โรงเรียนนำมาใช้
วงรอบที่ 2 นักเรียนที่เข้าร่วมประกอบด้วยนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 67 คน ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2559 พบว่า หลังจากทำความเข้าใจ ชี้แจง และทำข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมงาน/ภาระงานที่นักเรียนจะต้องปฏิบัติในระหว่างการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education สังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (Observe) โดยใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน ประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้และประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education และนำไปสู่การขยายผลให้กับครูและผู้สนใจทั่วไป
3. ผลการศึกษาผลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.43 คิดเป็นร้อยละ33.58 คะแนนระหว่างเรียนประเมินจากการตอบคำถามพัฒนากระบวนการคิด คิด และคำถามแบบประเมินตนเอง โดยใช้ชุดกิจกรรมการสืบค้นแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมิน จำนวน 3 หน่วย เท่ากับ 67.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.851 คิดเป็นร้อยละ 84.09 และคะแนนผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.645 คิดเป็นร้อยละ 71.22 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากเรียน โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ เท่ากับ 13.43 ค่า S.D. เท่ากับ 2.292 และ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 28.49 ค่า S.D. เท่ากับ 4.161 สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน และเมื่อทดสอบค่าความแตกต่างของคะแนนได้ค่าที่เท่ากับ 33.443 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Apps for Education มีความพึงพอใจในระดับมาก ( X̄ = 4.48 , S.D. = 0.675)
ดาวน์โหลด >> สรุปผลการวิจัย คลิกที่นี่