รายงานการวิจัยเรื่อง การใช้สื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้รายงาน อภิสา แก้วฤาชา ตำแหน่ง ครู
- 24 มิ.ย. 2564 เวลา 15:56 น.
- 3,512
- Tweet
ชื่อเรื่อง รายงานการวิจัยเรื่อง การใช้สื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน อภิสา แก้วฤาชา ตำแหน่ง ครู
ผู้รายงาน อภิสา แก้วฤาชา ตำแหน่ง ครู
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่อง การใช้สื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่ศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อสร้างสื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ทำแบบทดสอบ เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเพชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คน ทำการคัดเลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีผลการเรียนคละกัน เก่ง ปานกลาง และอ่อน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองคือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกมจากโปรแกรม kahoot แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย และผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t – test
ผลการวิจัยพบว่า
1.1 ผลการสร้างสื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้
1.1.1 มีการสร้างคำถามที่น่าสนใจ โดยนำมาใช้กำหนดคำถามให้สอดคล้องตามจุดประสงค์การเรียนรู้ และนำไปใช้ในการสอบ Pretest เพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียนในหัวข้อนั้น
1.1.2 มีรูปแบบของตัวเลือกเป็นสีและสัญลักษณ์ เป็นตัวช่วยทำให้นักเรียนเกิดการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นการฝึกทักษะของการจดจำ และการใช้สมองสั่งการเชื่อมโยงความรู้กับสีและสัญลักษณ์ของตัวเลือกแต่ละตัว เพื่อเลือกคำตอบให้ถูกต้อง
1.1.3 ระบบการจับเวลาของ Kahoot ในแต่ละข้อคำถาม ทำให้นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการคิดและตอบคำถามให้ถูกต้อง เพราะคนที่ตอบเร็วที่สุดจะได้คะแนนมากที่สุด ผู้เรียนรู้สึกสนุกและตื่นเต้นรอคอยคำถามแต่ละข้อ เมื่อคำถามปรากฏผู้เรียนจะรีบคิดและตัดสินใจ เป็นการฝึกทักษะทางปัญญาฝึกคิด ฝึกตัดสินใจ
1.1.4 การรวมคะแนนเป็นรายข้อทำให้นักเรียนเห็นลำดับคะแนนของตนเอง และมีความพยายามที่จะเร่งทำคะแนนให้สูงขึ้นในข้อถัดไป ฝึกให้เกิดการวางแผนและเร่งลงมือทำให้สำเร็จ
1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 5.24 คะแนน และ 17.43 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
1.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อการสอนโปรแกรม Kahoot Application ในการวัดและประเมินผล เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าโดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ