การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลกด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ รหัสวิชา ส21102 ของนักเรียนชั้น ม.1
- 22 เม.ย. 2565 เวลา 16:42 น.
- 1,506
- Tweet
ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลกด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ รหัสวิชา ส21102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
ผู้วิจัย อภิสา แก้วฤาชา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนเพชรพิทยาคม
อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์
ปีที่ทำการวิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลกด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ รหัสวิชา ส21102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วย การเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลก จำนวน 1 แผน แผนละ 4 คาบเรียน บทเรียนใน Google Classroom เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลกเป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นแบบทดสอบอัตนัย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลกซึ่งแบบทดสอบ 1 ฉบับ จะมีสถานการณ์ 1 สถานการณ์ จำนวน 5 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์ และผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t – test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.43 คะแนน และ 8.77 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86
รายละเอียดเอกสาร :: ไฟล์แนบ
รายละเอียดเอกสาร :: ไฟล์แนบ